Case Studies, SaaS, Startup

ธุรกิจ SaaS กับช่องทางในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่

การทำธุรกิจในประเทศจีน

การทำธุรกิจแบบ SaaS หรือ Software as a Service กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในโซนประเทศอเมริกาครับ เช่น Adobe Creative Cloud หรือ Microsoft Office 360 ที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินรายเดือนในเพื่อใช้ซอฟแวร์ ซึ่งต่างกับในอดีตที่โปรแกรมขายขาดจ่ายครั้งเดียว

บทความแนะนำ: รู้จักกับธุรกิจแบบ SaaS เพิ่มขึ้นได้จากบทความ สรุปงานชีวิต-ติด-วัด Metrics for Startup ครับ

สำหรับในไทยโมเดลธุรกิจนี้ยังใหม่อยู่ครับ ซึ่งคนนอกสายไอทีอาจจะยังไม่ชินกับการที่ต้องจ่ายค่าโปรแกรมเป็นรายเดือน รายปีมากนัก เช่นเดียวกันกับประเทศจีนที่ธุรกิจประเภท SaaS เติบโตน้อยมาก ในปี 2014 ประเทศจีนใช้จ่ายกับ SaaS แค่ 3% ของค่าใช้จ่ายใน SaaS ทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนมีการเติบโตด้าน E-Commerce สูงจนน่าตกใจ จากปี 2012 ที่คนจีนใช้จ่ายกับ E-Commerce พอ ๆ กับอเมริกา จนตอนนี้มากกว่าอเมริกาถึง 2 เท่า

ยอดขาย E-Commerce ในจีนกับอเมริกา ขอขอบคุณรูปจาก Chinamarketingtips

ยอดขาย E-Commerce ในจีนกับอเมริกา ขอขอบคุณรูปจาก Chinamarketingtips

“จุดเปลี่ยน” ด้าน SaaS ของประเทศจีนกำลังจะมาถึง

ด้าน SaaS ของประเทศจีนมี Market Share การใช้จ่ายเพียง 3% เทียบกับอเมริกาที่มียอดค่าใช้จ่ายใน SaaS ถึง 60% อาจจะมาจากเหตุผลว่าธุรกิจใหญ่ ๆ ในจีนยังไม่ต้องการใช้ SaaS มากนัก

คุณ Peng T. Ong หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Match.com เว็บไซต์หาคู่ชื่อดัง ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า สำหรับในเอเชีย การจ้างคนมาแก้ปัญหามีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ SaaS ซึ่งถ้าถึง “จุดเปลี่ยน” ที่ GDP ของประเทศอยู่ในระดับ $8,000 – $10,000 ต่อหัวต่อปีเมื่อไหร่ บริษัทก็จะเริ่มหันมาสนใจ SaaS มากขึ้น

ตอนนี้ GDP ของประเทศจีนใกล้แตะ $7,000 ต่อหัวต่อปี ซึ่งไม่ไกลจากจุดเปลี่ยนแล้ว เพราะฉะนั้น SaaS ในจีนมีแนวโน้มว่าจะบูมขึ้นมาในอนาคตอันใกล้นี้ (ส่วนของประเทศไทย GDP $5,780 ต่อหัวต่อปี)

คำถามที่เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ ท่าน หรือคนที่อยากทำ SaaS สงสัย ก็คือ… แล้วเราจะบุกตลาดจีนได้อย่างไร

ธุรกิจ SaaS ต่างชาติจะเจาะ Great Firewall ของจีนได้ยังไงบ้าง

ธุรกิจในจีนแม้จะตีป้อมยาก แต่ผลตอบแทนมหาศาลรอเราอยู่ครับ

ธุรกิจในจีนแม้จะตีป้อมยาก แต่ผลตอบแทนมหาศาลรอเราอยู่

ธุรกิจใหญ่ ๆ จากอเมริกา เช่น Groupon หรือ Ebay เคยพยายามเข้าไปบุกตลาดจีน แต่ก็ล้มเหลวเพราะไม่สามารถแข่งกับธุรกิจของคนในประเทศจีนเองได้ มาดูกันว่าจะมีทางไหนที่เราจะไปทำธุรกิจในจีนได้บ้าง

1) โฮสต์ SaaS นอกประเทศจีน

หลาย ๆ ท่านที่เคยไปจีน น่าจะทราบว่า Internet ของจีนมี Firewall สุดโหด ที่จะทำให้การเข้าถึงเว็บต่างประเทศช้าลงอย่างมาก หรือบางเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ เช่น Facebook ก็โดนบลอคไปเลย ถ้าคุณทำธุรกิจ SaaS ที่ต้องมีการเชื่อมต่อ หรืออัพโหลด-ส่งไฟล์ บ่อย ๆ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนจะใช้บริการถ้าการเชื่อมต่อช้า

2) โฮสต์ SaaS ในประเทศจีน

แล้วถ้าเราจะโฮสต์ในประเทศจีนเลยล่ะ ? ประเทศจีนบังคับว่าทุกเว็บไซต์ต้องมี ICP License ซึ่งการจะได้มันมา คุณต้องเป็นคนจีนเท่านั้น แปลว่าการที่อยู่ ๆ เราจะไปเปิดเว็บไซต์ในจีนนั้นเป็นไปไม่ได้เลย (ถ้าเชื้อสายจีนก็ไม่แน่)

3) ขายลิขสิทธิ์ให้กับนักลงทุนจีน

วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเข้าไปในจีน โดยขายลิขสิทธิ์ให้กับนักลงทุนจีน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจีนจะเป็นผู้ดูแล และโฮสต์ระบบ SaaS ของเราทั้งหมด จึงอาจจะลำบากถ้าเราต้องการเข้าไปดูแลควบคุมด้วย สำหรับผู้ที่สนใจขายลิขสิทธิ์สามารถดูรายละเอียดเรื่องกฏหมายในเว็บไซต์ ChinaLawBlog ได้

Case Study การทำ Partnership กับธุรกิจจีน

นอกจากการขายลิขสิทธิ์ให้กับนักลงทุนจีนที่พูดถึงก่อนหน้านี้แล้ว เราสามารถทำ Partnership จับมือกับธุรกิจในจีนได้อีกด้วย

หนึ่งใน Case Study ที่น่าสนใจ คือ บริการ SaaS ชื่อดังอย่าง Zoho ที่จับมือกับ Baihui นำระบบ CRM มาเปิดตลาดในประเทศจีนในชื่อ Baihui CRM

หน้าตาเว็บไซต์ Baihui CRM

หน้าตาเว็บไซต์ Baihui CRM

การจับมือทำ Partnership แบบนี้จะช่วยให้เราผ่านข้อจำกัดเรื่องข้อกฏหมายของจีนและลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นได้อย่างง่ายดาย

สรุปการนำเข้าธุรกิจ SaaS สู่ตลาดจีน

ถึงแม้ว่าจะมีข้อกฏหมายมากมายที่ขัดขวางการนำ SaaS เข้าประเทศจีน แต่อย่าลืมว่าธุรกิจ SaaS ดัง ๆ ในต่างประเทศก็ไม่สามารถบุกเข้าตลาดนี้มาได้ง่าย ๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถทำได้ โอกาสจะเจอคู่แข่งยักษ์ใหญ่มีน้อยมาก

นอกจากนั้นประเทศจีนก็ยังมีตลาดที่ใหญ่มาก ๆ รออยู่ ซึ่งถ้าคุณเปิดตลาดในจีนได้สำเร็จมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าธุรกิจ SaaS ในอเมริกาเสียอีก

อ้างอิงข้อมูล จาก: ChartMogul

คุณอยากอ่านบทความแนวนี้อีกมั้ย ?

ลงทะเบียนรับ GrowthBee Newsletter เพื่ออ่านบทความใหม่ ๆ ด้าน Data Science ก่อนใคร !!

I agree to have my personal information transfered to MailChimp ( more information )

เราสัญญาว่าจะไม่มีการแสปมใด ๆ ทั้งสิ้น และคุณสามารถยกเลิกรับข่าวสารตอนไหนก็ได้

Leave a Reply